--

ไหมละลาย คือ ไหมที่สามารถละลายได้ในร่างกายของมนุษย์ แต่ไม่สามารถละลายได้ภายนอกของร่างกาย ไหมที่ไม่ละลาย คือ ไหมที่ไม่สามารถละเองไปเองได้ทั้งภายในและภายนอกของร่างกาย ต้องให้แพทย์ตัดออกหลังได้รับการผ่าตัดเท่านั้น ดังนั้นแพทย์จึงจำเป็นต้องเลือกใช้ไหมให้ถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละการผ่าตัด

วันนี้มาทำความรู้จักไหมละลายว่าาลักษณะของไหมละลายเป็นยังไงบ้าง

ไหมละลายอยู่ได้กี่วันถึงจะละลาย ?
รูปแบบของไหมละลายมีทั้งไหมละลาย (Absorbable Sutures) ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้นมา ที่ทำมาจากธรรมชาติก็เช่น Catgut อันนี้จะทำมาจากคอลลาเจน ในชั้น Submucosa ของลำไส้แกะหรือวัว ที่มันละลายได้เพราะอาศัยกลไกธรรมชาติของร่างกายเรา ในการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบรอบไหม จากนั้นมันก็จะเริ่มยุ่ยและแตก จนขาดออกภายใน 4-5 วัน ซึ่งจะสลายหมดไปภายใน 2 สัปดาห์

 

ไหมละลาย

เส้นไหมที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติและสังเคราะห์ขึ้น
-ไหมละลายจากธรรมชาติ เช่น Catgut ทำมาจากคอลลาเจน ในชั้น Submucosa ของลำไส้แกะหรือวัว สามารถละลายได้เพราะอาศัยกลไกธรรมชาติของร่างกาย ในการ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบรอบไหม จากนั้นจะเริ่มเปื่อยยุ่ยและแตกจนขาดออกภายใน 4 – 5 วัน ซึ่งจะสลายหมดไปภายใน 2 สัปดาห์ สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด
-Plain catgut สามารถละลายได้เร็วใน 5 – 10 วัน ใช้เย็บกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อที่ไม่ลึกมาก ไม่ต้องใช้แรงในการดึงรั้งมาก เช่น บริเวณช่องปาก ลิ้น แผลฝีเย็บจากการคลอด เย็บชั้นไขมันใต้ผิวหนัง หรือแผลที่ไม่ลึกมาก
-Chromic catgutจะละลายได้ช้ากว่าแบบแรก คือราว 10 – 20 วัน ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคือง ใช้ในการเย็บกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อ ที่ต้องใช้ระยะเวลานานเพื่อที่จะทำให้แผลติด เช่นกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง เนื้อเยื่อผังผืด เอ็นมัดใหญ่
-ไหมละลายจากเส้นใยสังเคราะห์ทำจาก Polyglycolic acid (Dexon), หรือ Polyglycan (Vicryl)

พอรู้จักไหมละลายไปแล้ว ทุกคนคงสงสัยว่าแล้วไหมละลายล่ะ มันเป็นยังไง

 

ไหมไม่ละลาย

มีทั้งที่ทำจากธรรมชาติและจากการสังเคราะห์เช่นกัน
ไหมไม่ละลายจากธรรมชาติเช่น ไหมดำ (Silk) จะไม่ละลายสบายไปเอง แต่ถ้าหากอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะเปราะและขาดได้เอง ภายใน 1 ปี

 

-ไหมไม่ละลายชนิดที่สังเคราะห์เช่น Nylon ไหมสังเคราะห์ชนิดนี้ไม่ละลายแม้ว่าจะอยู่ในร่างกายนานๆ หรือแม้กระทั่งมีการอักเสบติดเชื้อมัน มีความเหนียว คงทน แต่ผูกปมยากกว่า จึงไม่ค่อยเหมาะกับอวัยวะที่เหงื่อออกเยอะ เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รักแร้ หรือมีเลือดมีน้ำเหลืองมาก

 

 

การเลือกใช้ไหมตามลักษณะต่างๆ
  • หากเย็บผิวหนังทั่วๆไป มักใช้ไหมไม่ละลาย เพราะแผลที่ผิวหนังส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น มีแผลฉีกขาด หัวแตก แผลโดนฟัน แผลแยก แผลปริ ถ้าไม่ลึกหมอก็จะใช้ไหมไม่ละลาย ชนิด ไหมดำ หรือ Nylon เพราะแผลเหล่านี้เป็นแผลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อักเสบง่ายและนานได้ ถ้าเย็บด้วยไหมละลายก็อาจจะขาดหลุดได้ ก่อนที่แผลจะหาย นอกจากนี้ยังมีความเหนียว แข็งแรงทนการดึงรั้งได้ดี เหมาะกับผิวหนังมากกว่า
  • กรณีที่จะเย็บผิวหนังด้วยไหมละลาย มักจะใช้กับแผลผ่าตัดที่ขอบเรียบ เย็บให้ชิดกันแนบสนิทได้ง่าย เพราะการเย็บด้วยไหมละลายจะต้องซ่อนปมไว้ใต้ผิวหนัง ซึ่งปมไหมนี้จะเป็นแหล่งรวมเชื้อโรค ถ้าแผลมีเชื้อโรคก็จะเป็นตัวก่อให้เกิดการติดเชื้อตามมา
  • ในการใช้ไหมละลายเย็บผิวหนัง แผลต้องสะอาด เช่น แผลจากการผ่าตัดในห้องผ่าตัด เป็นต้น จึงไม่นิยมใช้เย็บผิวหนังในแผลอุบัติเหตุซึ่งเป็นแผลไม่สะอาด
  • แผลที่ไม่ต้องการการตัดไหม เพราะตัดยาก เช่น แผลจากการคลอดลูกทางช่องคลอด แผลผ่าตัดในเด็ก แผลที่ลิ้น แผลที่กระพุ้งแก้ม แผลในดวงตา
  • แผลติดเชื้อได้ง่าย เช่นแผลไส้ติ่งแตก จะใช้ไหมไม่ละลายด้านนอก แบบเย็บห่างๆไว้ เพราะถ้าหากมีหนองไหลออกมาจะได้เห็นได้ชัดเจน และระบายสารคัดหลั่งออกได้ง่าย
  • เอ็นฉีกขาด กล้ามเนื้อฉีกขาด จะเลือกใช้ไหมละลายแบบที่ดูว่าเอ็น กล้ามเนื้อนั้นต้องดึงรั้งอะไรบ้างไหม กว่าจะติดกันดีใช้เวลานานเท่าไหร่ หากนานก็ใช้ Chromic catgut ไม่เยอะไม่นานก็ใช้ Plain catgut
  • แผลผ่าตัดที่ต้องการความสวยงาม เช่น แผลหน้าท้องคลอดลูก แผลผ่าธัยรอยด์ ที่เย็บชั้นไขมันได้โดยไม่ดึงรั้งมาก ก็อาจจะเย็บแบบสอยด้วยไหมละลาย เป็นต้น
ไหมทั้งสองแบบมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของแผล ซึ่งหมอจะเป็นคนตัดสินใจว่าแผลแบบไหนเหมาะสมกับด้ายแบบใด

 

https://www.facebook.com/dr.alexclinic

Leave a reply